ในสังคมปัจจุบัน เป็นยุคโลกาภิวัฒน์การสื่อสารไร้พรมแดน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงมีความสำคัญ และจำเป็นยิ่งในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การศึกษา จึงเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนภาษาได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจขึ้น ทางด้านการอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการสอนภาษาอังกฤษสำหรับช่างเทคนิคเกี่ยวกับภาษาอังกฤษธุรกิจขึ้น เพื่อเจาะลงในอาชีพเพื่อให้เกิดผลดีในการนำไปใช้ในการเรียน หรือการประกอบอาชีพที่เฉพาะทางมากขึ้น ตรงจุดประสงค์มากขึ้น และที่สำคัญเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด นั้นเอง

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

sq4r

ชื่อเรื่อง การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ชื่อผู้วิจัย สุทธิรัตน์ อักษรวิลัย สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์เผด็จ ก๋าคำ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.เพ็ญพร ทองคำสุก ปีการศึกษา 2556 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง จำนวน26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อวิธีการสอนแบบ SQ4R สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R โดยรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ วิธีการสอนแบบ SQ4R Title A Study of Reading Ability in English for Specific Purposes through SQ4R Teaching Method for the Third Year Students Vocational Certificate Level Majoring in Electrical Power at Omnoi Municipality Vocational College Author Sutthirat Aksornwilai Program Teaching English Major Advisor Assistant Professor Phadet Kakham Co- Advisor Assistant Professor Dr.Areewan Iamsa-ard Co- Advisor Dr.Phenporn Thongkumsuk Academic Year 2013 ABSTRACT The objectives of this research were 1) to compare English for Specific Purposes reading ability using SQ4R teaching method for the third year students Vocational Certificate Level majoring in Electrical Power at Omnoi Municipality Vocational College both before and after studying and 2) to study the students’ satisfaction towards learning through SQ4R teaching method. The sample included 26 students at Omnoi Municipality Vocational College. The instruments included 1) lesson plans 2) English test and 3) questionnaire. Data were statistically analyzed by mean, standard deviation, and t – test for dependent samples. The findings revealed as follows: 1. English for Specific Purpose reading ability through SQ4R teaching method for the third year students Vocational Certificate Level between pretest and posttest was significantly different at the level of 0.01. 2. The students’ satisfaction towards English for Specific Purpose reading through SQ4R teaching method was generally found at high level. Keywords: English Specific Purposes Reading Ability, SQ4R Teaching Method บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นถึงความสำคัญของการสอนภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ จึงได้จัดให้มีการสอน ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2505 และถ้าเป็นการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทางด้านช่างอุตสาหกรรม¬จะเรียกวิชานี้ว่าภาษาอังกฤษเทคนิค ซึ่งตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2546) ได้กำหนดให้วิชาภาษาอังกฤษเทคนิคเป็นวิชาบังคับอยู่ในหมวด วิชาสามัญ ซึ่งนักเรียนจะต้องเรียนไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษ เป็นพื้นฐานบูรณาการกับการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นำไปใช้ในการประกอบอาชีพและแสวงหาความรู้ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งเกิด เจตคติที่ดีต่อภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศโดยยังคงความภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมไทย สถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและสถาบันการอาชีวศึกษาก็เป็นสถาบันหนึ่ง ซึ่งผลิตบุคลากรในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สู่ตลาดแรงงานโดยมีแนวทางในการผลิตบุคลากรจากระดับกลางไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีทักษะที่มาตรฐาน เน้นการผลิตช่างเทคนิค ช่างฝีมือ โดยการฝึกปฏิบัติให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี ที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างมากในขณะนี้ (ณรงค์ นิตยพร, 2541, น.28) จากการเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมนี้ สถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ทั้งอาชีวศึกษาเอกชนและอาชีวศึกษารัฐบาล จึงมีความจำเป็นในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน ในสาขาต่าง ๆ สำหรับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ได้เปิดสอนสายอาชีพช่างอุตสาหกรรมขึ้นสามแผนก และแผนกที่นักเรียนสมัครเข้าเรียนมากที่สุดคือ สาขางานไฟฟ้ากำลัง ซึ่งมีนักเรียนรวมกันทั้งสามชั้นปี จำนวน 90 คน จึงเห็นได้ว่าสาขางานไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากในเขตอ้อมน้อยเป็นเขตอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วยโรงงานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละขนาด อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ต้องใช้ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตสินค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเครื่องจักรต่างๆ จะนำเข้าจากต่างประเทศ ข้อแนะนำการใช้เครื่องมือหรือการติดตั้ง จะเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงเทคนิคในประหยัดพลังงานแบบต่าง ๆ นอกจากทักษะทางวิชาชีพและความรู้ทางวิชาการด้านฝีมือและอื่น ๆ แล้ว ภาษาอังกฤษก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้บุคคลากรเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนางานและสร้างความเจริญให้กับองค์กรได้ และทักษะทางภาษาอังกฤษที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือทักษะการอ่าน ดังเช่น วิสาข์ จัติวัตร์ (2543, คำนำ) กล่าวว่า การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญมาก ในยุคข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ย่อมมีโอกาสได้ข้อมูล ข่าวสาร จากสื่อต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ถวิรัตน์ ตันทนิส (2545, น.1) โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการอ่านซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีโอกาสใช้ทักษะการฟัง การพูด และการเขียนภาษาอังกฤษน้อยกว่าทักษะการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับทัศนของ นัททอล (Nuttall, 2005, p.12) ที่ว่า การอ่านภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาในชั้นสูง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ซึ่งในเรื่องนี้ วีล (Viel, 2002 อ้างใน สมศรี ดวงสุวรรณ์, 2549, น.3) ได้อ้างถึงการสำรวจความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยคณะกรรมการการศึกษา (ภาษา / ทักษะการสื่อสารในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม) ในประเทศฟินแลนด์ โดยผู้วิจัยได้ทำการสำรวจกลุ่มลูกจ้าง ในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มวิศวกร และช่างเทคนิค มีความต้องการทักษะการอ่าน เพื่อใช้ในการอ่านคู่มือและคำสั่งต่าง ๆ ถึงร้อยละ 80 และร้อยละ 78 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังต้องการทักษะการอ่านเพื่อใช้ในการอ่านเอกสารต่าง ๆ ของบริษัทเป็นจำนวนร้อยละ 61 และร้อยละ 24 ตามลำดับ สำหรับลูกจ้างในฝ่ายผลิต ช่างติดตั้งและช่างซ่อมมีความต้องการอย่างชัดเจนในการใช้ทักษะการอ่านสำหรับคำสั่ง ขั้นตอนการทำงานเครื่องยนต์ คำเตือน คำแนะนำ การอ่านเพื่อบอกชื่อเครื่องมือและส่วนประกอบต่าง ๆ ในคู่มือ การอ่านจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ ดังนั้น การสอนให้ผู้เรียนมีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง (คณาพร คมสันต์, 2540, น. 1) ความสำคัญ และความต้องการดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ซึ่งปรากฏในคำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม (2000-1223) ตอนหนึ่งกล่าวว่า “เป็นรายวิชาที่ศึกษาการฝึกปฏิบัติการอ่านเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานทางช่างอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น สัดส่วน ขนาด รูปทรง ชื่อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงาน เครื่องหมาย ป้ายประกาศเตือน คู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสาธิตวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน” จึงเห็นได้ว่าหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นั้นให้ความสำคัญในการสอนทักษะการอ่านอย่างชัดเจน และยังเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในการนำไปประกอบอาชีพ การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ การคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นการให้ประสบการณ์แก่ผู้อ่าน ตลอดจนนำความคิดที่ได้รับจากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน ประโยชน์ของการเรียนอ่านนั้น ทำให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะการอ่านไปใช้ได้กับทุก ๆ สาขาวิชา เพื่อให้ได้รับข่าวสารข้อมูลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ขณะที่การจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ กำลังได้รับการส่งเสริม มากขึ้น กลับพบว่าผู้เรียนยังคงประสบปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะทางอยู่ และผลการศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษเฉพาะกิจที่ผ่านมา พบว่า ความสามารถทางการอ่านของผู้เรียน ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ ไม่น่าพอใจ (ศิริรักษ์ ธิจัตตัง, 2544, น.2) การอ่านภาษาอังกฤษก็ยังเป็นปัญหาอยู่ กล่าวคือ อ่านไม่เข้าใจ จับใจความสำคัญไม่ได้ สาเหตุเพราะในช่วงการเรียนผู้เรียนได้รับการฝึกฝนการอ่านที่ไม่ถูกวิธี จากการศึกษาถึงความสามารถในทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาในหลักสูตรอาชีวศึกษาสาขางานต่าง ๆ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้น พบว่าความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษายังอยู่ในระดับต่ำ ไม่เป็นที่น่าพอใจ นักศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนน้อยเนื้อหามีความยากง่ายไม่เหมาะสมกับผู้เรียนและครูผู้สอนใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม นอกจากนั้น (วิภาดา รัตนวิจักขณ์, 2540, น.82-85) ได้กล่าวถึงปัญหาของ นักศึกษาที่จบจากสถานศึกษาของกรมอาชีวศึกษาว่า นักศึกษาขาดความรู้ด้านคำศัพท์และโครงสร้างทางไวยากรณ์ และยังมีทัศนคติและแรงจูงใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ ขาดการฝึกปฏิบัติ และเมื่อจบการศึกษา ก็ไม่สามารถนำความรู้ภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ สอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษซึ่งพบว่า เด็กไทยส่วนมากยังมีระดับความสามารถในด้านการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ และการที่ผู้เรียน ส่วนมากยังขาดความสามารถในทักษะการอ่าน อาจจะเป็นเพราะยังขาดวิธีการหรือเทคนิคการอ่านที่ไม่เหมาะสม ในอันที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านด้วยความเข้าใจมากขึ้น (สุมิตร อังวัฒนกุล, 2540) จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของกรมอาชีวศึกษา ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าต้องมีการปรับปรุงในด้านการสอนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะอื่นๆ ได้แก่ การฟัง การพูด และการเขียน ตลอดจนการนำภาษาอังกฤษไปใช้ ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ การที่ผู้สอนไม่มีการใช้กลวิธีในการสอนที่น่าสนใจ หรือไม่ได้สอนกลวิธีการอ่านเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากขึ้น ก็เป็นการยากที่ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจได้ การอ่านนั้นเป็นกระบวนการที่ผู้อ่านใช้กลวิธีเพื่อทำความเข้าใจเรื่องที่อ่านและกลวิธีนั้น กล่าวได้ว่าเป็นเทคนิคการเรียนรู้ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้นั้น ประสบผลสำเร็จ จากการที่ศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับกระบวนการอ่านและกลวิธีซึ่งผู้อ่านใช้ระหว่างการอ่าน แสดงให้เห็นว่า ผู้อ่านที่มีความสามารถในการอ่านสูง จะใช้กลวิธีในการอ่านบ่อยครั้งกว่าผู้อ่านที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ และสามารถใช้กลวิธีได้ดีกว่าและรู้ว่าจะใช้อย่างไร ซิงฮอล (Singhal, 2000, p.46 -57) ซึ่งกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการอ่านนั้นก็มีอยู่หลายกลวิธีด้วยกัน เช่น การจับใจความสำคัญ เป็นความสามารถในการอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อจับใจความสำคัญของสิ่งที่อ่าน โดยผู้อ่านไม่มุ่งหวังที่จะทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของเนื้อเรื่อง ได้แก่ การอ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ปกหนังสือ และ นวนิยายต่าง ๆ การอ่านประเภทนี้จะจับใจความ เฉพาะคำสำคัญที่จะบอกให้รู้ว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องอะไร และมีสาระสำคัญอะไรบ้าง และการสรุปใจความสำคัญ เป็นความสามารถในการอ่านเกี่ยวกับการลงความเห็น การวินิจฉัยหรือการสรุปรวบยอดอย่างมีเหตุผล เวนเดอร์ (Wender, 2004, p.1-2) ได้อธิบายเกี่ยวกับ ทักษะการอ่านไว้ 3 รูปแบบ คือ 1. การอ่านแบบคร่าว ๆ (skimming) คือการอ่านเพื่อให้ได้ภาพของเนื้อเรื่อง หรือเป็นการสำรวจเนื้อหาอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ เป็นวิธีการอ่านที่รวดเร็วโดยข้ามข้อความบางตอนบ้าง เป็นการอ่านที่ต้องอาศัยการจับใจความสำคัญของเนื้อหาไห้ได้ครบถ้วนด้วย 2. การอ่านแบบกวาดสายตา (scanning) คือการอ่านเพื่อค้นหาเรื่องที่ผู้อ่านต้องการในขณะนั้นใช้วิธีกวาดสายตาอย่างรวดเร็วที่ละ 2-3 บรรทัด เพื่อหาสิ่งที่ต้องการโดยไม่สนใจเนื้อหาส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากหัวข้อที่ตนต้องการ เป็นการอ่านแบบเจาะจงตามสิ่งที่ตนต้องการเท่านั้น 3. การอ่านอย่างละเอียด (intensive reading) คือการอ่านอย่างละเอียด เป็นการอ่านขั้นสุดท้าย หลังจากได้อ่านอย่างคร่าว ๆ หรืออ่านแบบกวาดสายตาแล้ว เป็นการอ่านอย่างพินิจ พิเคราะห์ เพื่อตีความเนื้อเรื่องอย่างละเอียด เป็นการอ่านที่ต้องอาศัยความชำนาญทางการอ่าน และต้องมีความระมัดระวังในการตีความหมายเพื่อให้ถูกต้องตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ ทักษะการอ่านทั้งสามประการเป็นวิธีการอ่านทั่วไป ผู้อ่านจะต้องฝึกฝนวิธีการอ่านดังกล่าวเพื่อพัฒนาตนเอง และสามารถใช้ทักษะทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่วถูกต้องตามวัตถุประสงค์การอ่านในแต่ละครั้ง จากตัวอย่างของกลวิธีในการอ่านดังกล่าวจะเห็นว่า ผู้อ่านสามารถใช้หลาย ๆ กลวิธีรวมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่าน วิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความความสามารถในการอ่าน คือวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R (Survey, Question, Read, Recite, Write, and Review) ของ Robinson, F.P., (1970) พัฒนามาจากการสอนแบบ SQ3R(Survey, Question, Read, Recite and Review) SQ4R นั้นเพิ่มขั้นตอนเขียน (Write) เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในรูปการเขียนสรุปใจความออกมา การเขียนสรุปใจความสำคัญนั้นเป็นวิธีการตรวจสอบความเข้าใจเรื่องที่อ่านด้วยตนเองของผู้เรียน ซึ่งการเขียนสรุปใจความเพียงประโยคเดียว ก็เป็นการสร้างความคงทนในการจำให้แล้ว (Hidi & Anderson 1986 quoted in Harris & Sipay , 1990, p. 617) จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังเช่น งานวิจัยของ ยุวดี โปธายะ (2546, น. 48 ) ที่ได้ทำการวิจัย การใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และความสามารถในการเขียนสรุปใจความของนักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 แผนกพณิชยการ วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง พบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความสามารถในการเขียนสรุปใจความของนักเรียนสูงขึ้น หลังจากได้รับการสอนแบบ SQ4R การสอนแบบ SQ4R นี้จะช่วยนิสัยในการอ่านที่ดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นผู้เรียนจะยังได้รับประโยชน์ดังนี้ คือ เรียนรู้ที่จะจับใจความสำคัญอย่างรวดเร็ว เข้าใจเนื้อหาที่มีความยากได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนจดจำเรื่องที่อ่านได้นาน ช่วยให้รู้จักการคาดเดาคำถามที่มักจะพบในแบบทดสอบ และไม่จำเป็นต้องกลับไปทบทวนตำราอีกครั้งเพราะสรุปใจความสำคัญทุกอย่างไว้แล้วจากการจดบันทึก นอกจากนั้นแล้วยังช่วยให้อ่านได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องใช้เวลานานเมื่อมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากในวิธีการสอนแบบ SQ4R นี้ ประกอบด้วยหลายวิธีที่ช่วยพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในการอ่าน เช่น การสำรวจ การตั้งคำถาม การบอกคำตอบออกมาอีกครั้งซึ่งเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนหรือการทบทวนซึ่งจะช่วยในการจำเรื่องที่อ่าน นอกจากนั้น การสอนแบบ SQ4R ยังสามารถช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาในการอ่านอีกด้วย เริ่มตั้งแต่ขั้นสำรวจ ซึ่งในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้มองภาพรวมของเรื่องที่จะอ่านเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดถึงเรื่องที่กำลังจะได้อ่านและยังมีกลวิธีการตั้งคำถามซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกหาคำตอบจากคำถามที่ตั้งไว้ ช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการอ่านเนื่องจากมีจุดประสงค์ในการอ่านที่ชัดเจนไม่ใช่เพียงแค่อ่านให้จบเรื่องเท่านั้น และเมื่อผู้เรียนสามารถหาคำตอบได้จะทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านว่าไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินไป เพราะเขาสามารถตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้และยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในการอ่านอีกด้วย และผู้เรียนที่มีจุดอ่อนในเรื่องของคำศัพท์และไวยากรณ์ก็ยังจะได้ฝึกฝนจากการอ่านซ้ำ ๆ เพราะวิธีการสอนแบบ SQ4R เน้นที่การอ่านซ้ำ ๆ อย่างละเอียดจนกว่าจะเข้าใจและจดจำเรื่องที่อ่านได้ เมื่ออ่านจบแล้วผู้เรียนก็ยังสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองได้ในขั้นเขียนสรุปใจความ ซึ่งจะเป็นการใช้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนว่าสามารถทำความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้มากน้อยเพียงใด และหากผู้เรียนได้รับการฝึกฝนการสอนอ่านด้วยวิธี SQ4R จนมีความชำนาญแล้ว การอ่านตำราก็จะไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนอีกต่อไป จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องการศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย เนื่องมาจากความสำคัญของการอ่านภาษาอังกฤษ ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ปัญหาของการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา และความต้องการภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ผู้วิจัยได้รวบรวมความต้องการด้านเนื้อหา จากนักศึกษา สาขางานไฟฟ้ากำลัง ครูผู้สอนภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ และได้ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) คำอธิบายรายวิชา ภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม (2000 – 1223) เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา ให้สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี อ่านได้อย่างเข้าใจ สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ที่มีต่อวิธีการสอนแบบ SQ4R สมมติฐานของการวิจัย ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย หลังจากได้รับ การสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 ห้อง 1 และห้อง 2 สาขางานไฟฟ้ากำลัง จำนวน 52 คนที่กำลังศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งเป็นนักเรียนคละกัน ทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน 1.2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 แผนกช่างอุตสาหกรรม สาขางานไฟฟ้ากำลัง ห้อง 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ที่ศึกษาวิชาภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม (2000 - 1223) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 26 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยการจับฉลาก 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ วิธีการสอนแบบ SQ4R 2.2 ตัวแปรตาม คือ 2.2.1 ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ 2.2.2 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการสอนแบบ SQ4R ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม 2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษามีประสิทธิภาพมากที่สุด 3. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นต่อไป นิยามศัพท์เฉพาะ วิธีการสอนแบบ SQ4R หมายถึง วิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ของ Robinson, F.P., (1970) ได้แก่ 1. ขั้นสำรวจ (Survey) 2. ขั้นตั้งคำถาม (Question) 3. ขั้นการอ่านอย่างรอบคอบ (Read) 4. ขั้นการท่องจำ (Recite) 5. ขั้นเขียนสรุปใจความ (Write) 6. ขั้นทบทวน (Review) 1. ขั้นสำรวจ (Survey) เป็นการอ่านคร่าว ๆ เพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง 2. ขั้นตั้งคำถาม (Question) เป็นการตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน 3. ขั้นการอ่านอย่างรอบคอบ (Read) เป็นการอ่านเพื่อจับใจความและประเด็นสำคัญ 4. ขั้นการท่องจำ (Recite) เป็นการท่องปากเปล่าจากบันทึก ที่บันทึกย่อไว้ 5. ขั้นเขียนสรุปใจความ (Write) เป็นการเขียนสรุปใจความสำคัญโดยใช้ภาษาของตนเอง 6. ขั้นทบทวน (Review) เป็นการทบทวนประเด็นที่เขียนบันทึกที่ได้จากบทอ่าน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติต่าง ๆ ระหวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ที่มีต่อวิธีการสอนแบบ SQ4R สมมติฐานของการวิจัย ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย หลังจากได้รับ การสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 ห้อง 1 และห้อง 2 สาขางานไฟฟ้ากำลัง จำนวน 52 คนที่กำลังศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งเป็นนักเรียนคละกัน ทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน 1.2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 แผนกช่างอุตสาหกรรม สาขางานไฟฟ้ากำลัง ห้อง 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ที่ศึกษาวิชาภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม (2000 - 1223) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 26 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยการจับฉลาก 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ วิธีการสอนแบบ SQ4R 2.2 ตัวแปรตาม คือ 2.2.1 ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ 2.2.2 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการสอนแบบ SQ4R ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม 2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษามีประสิทธิภาพมากที่สุด 3. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นต่อไป นิยามศัพท์เฉพาะ วิธีการสอนแบบ SQ4R หมายถึง วิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ของ Robinson, F.P., (1970) ได้แก่ 1. ขั้นสำรวจ (Survey) 2. ขั้นตั้งคำถาม (Question) 3. ขั้นการอ่านอย่างรอบคอบ (Read) 4. ขั้นการท่องจำ (Recite) 5. ขั้นเขียนสรุปใจความ (Write) 6. ขั้นทบทวน (Review) 1. ขั้นสำรวจ (Survey) เป็นการอ่านคร่าว ๆ เพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง 2. ขั้นตั้งคำถาม (Question) เป็นการตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน 3. ขั้นการอ่านอย่างรอบคอบ (Read) เป็นการอ่านเพื่อจับใจความและประเด็นสำคัญ 4. ขั้นการท่องจำ (Recite) เป็นการท่องปากเปล่าจากบันทึก ที่บันทึกย่อไว้ 5. ขั้นเขียนสรุปใจความ (Write) เป็นการเขียนสรุปใจความสำคัญโดยใช้ภาษาของตนเอง 6. ขั้นทบทวน (Review) เป็นการทบทวนประเด็นที่เขียนบันทึกที่ได้จากบทอ่าน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติต่าง ๆ ระหว่างกัน ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ หมายถึง คะแนนความสามารถที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ ได้แก่ 1) จับใจความสำคัญ 2) บอกรายละเอียดของเรื่อง 3) สรุปใจความสำคัญ 1. ความสามารถในการจับใจความสำคัญ (Skimming for main Ideas) หมายถึง ความสามารถในการอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อจับใจความสำคัญ (Main Idea) ของสิ่งที่อ่าน โดยที่ผู้อ่าไม่มุ่งหวังที่จะทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของเนื้อเรื่อง 2. ความสามารถในการบอกรายละเอียดของเรื่อง (Scanning for Details) หมายถึงความสามารถในการอ่านโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ บทความหรือข้อความ โฆษณาต่าง ๆ หรือสิ่งตีพิมพ์ที่พบอยู่ในชีวิตประจำวัน ผู้อ่านต้องถามตัวเองว่า อ่านเกี่ยวกับอะไร (Topic) และมีสาระสำคัญอะไรบ้าง (Main idea) จากนั้นเมื่อผู้อ่านสนใจเรื่องราวดังกล่าว ก็ต้องอ่านรายละเอียด (Details) 3. ความสามารถในการสรุปใจความสำคัญ (Making Inferences) หมายถึง การลงความเห็น การวินิจฉัยหรือการสรุปรวบยอดอย่างมีเหตุผล ซึ่งการสรุปใจความสำคัญจากเนื้อเรื่องที่อ่านได้อย่างถูกต้องนั้นผู้อ่านจะต้องพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในข้อความแล้วนำมาสรุปอย่างมีเหตุผลโดยที่ผู้อ่านไม่สามารถหาคำตอบโดยตรงจากเนื้อเรื่องได้ ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความพอใจ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ที่มีต่อการเรียนการอ่านวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม (2000-1223) ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้วิจัยได้ศึกษา จุดประสงค์รายวิชา มาตรฐานรายวิชา คำอธิบายรายวิชา เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนรวมถึงแนวทางการวัดและประเมินผลผู้เรียน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสอนอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ วิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่าน คือวิธีการอ่านแบบ SQ4R (Survey , Question , Read , Recite , Write , and Review) ของ โรบินสัน (Robinson F.P.,1970, p.13-18) ซึ่งพัฒนามาจากการสอนแบบ SQ3R (Survey, Question , Read , Recite , and Review) SQ4R นั้นเพิ่มขั้นตอนเขียน (Write) เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจรูปการเขียนสรุปความออกมา การเขียนสรุปความนั้นเป็นวิธีการตรวจสอบความเข้าใจเรื่องที่อ่านด้วยตนเองของผู้เรียน ซึ่งการเขียนสรุปความเพียงประโยคเดียวก็เป็นการสร้างความคงทนในการจำ จากแนวคิดดังกล่าว ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย ปรากฏดังภาพที่ 1 ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม วิธีการสอนแบบ SQ4R 1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เฉพาะกิจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการ สอน แบบ SQ4R ว่างกัน

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

Directions: Read and choose the best answer.
Between the months of May and October a wind blows from the south-west. It is called the South-West Monsoon wind. The wind comes from the Indian Ocean and carries rain. When its black clouds reach the mountains between Burma and Thailand, very heavy rain falls. Sometimes it rains for several days. Sometimes it will rain for more than a week continuously. Consequently, rivers that can be walked across in the dry season, now become dangerous. 
               To  the east, on the great plain of Central Thailand there is much less rain. Indeed, the rainfall itself is insufficient for the cultivation of crops. Fortunately, during the west season, when the rivers become flooded, the crop planters are able to get water from the rivers. And so the great plain of Central Thailand has become a great crop growing area.
1.The wind blowing from the south-west is called………………………
a. monsoon                                                       b. South-West wind                        
c. South-West Monsoon                                d. South-West Monsoon wind
      2.   What wind blows between May and October?
a. monsoon                                                       b. South-West wind                        
c. South-West Monsoon wind                      d. South-West Monsoon
    3.   What wind comes from Indian Ocean?
a. South-West Monsoon wind                      b. South-West wind                        
c. South-West Monsoon                                d. Monsoon
     4.  What carries rain from the Indian Ocean to Thailand?
a. Monsoon                                                      b. South-West Monsoon wind      
c. The black clouds                                         d.  The west season          
     5.  What causes the heavy rains in Thailand?
a. Monsoon                                                      b. The mountains                            
c. The black clouds                                         d. South-West Monsoon wind
    6.  Why do the rivers become dangerous between the months of May and October?
               a. Because it rains heavily.                           
b. Because of the dry land.
               c. Because the black clouds reach the mountains between Burma and Thailand. 
               d. Because the rivers become flooded.
    7.  What is sufficient for the cultivation of crops?
a. The rainfall itself is.   b. The flood is.     c. The heavy rain is.         d. South-West Monsoon wind
    8.  Why can the crop planters get the water from the rivers?
               a. Because of the heavy rain.                        b. Because of the black clouds.
               b. Because of the flooded rivers.                  d. Because of the monsoon.
    9.  When can people walk across the rivers?
               a. During the wet season.                                  b. During the dry season.
               c. Between the months of  May and October. d. During the South-West Monsoon wind.
   10. What causes the great plain of Central of Thailand to become a great crop-growing area?
               a. The  South-West Monsoon wind.                           b. The heavy rain.            
               c. The rainfall itself.                                                      d. The flooded rivers.      

ตอนที่ 2  ข้อสอบแบบเติมคำ  จากข้อ 11-20
คำสั่ง        เลือกข้อที่ถูกที่สุดเติมลงในช่องว่าง
Weather Forecast
               11)………the past 24 hours rain of thunder-showers had 12)…………. to scatter in Kachin, northern Shan and northern Rakhine States, upper Sagaing and Magwe Divisions. Day temperature was below normal 13)……..Kachin State, Irrawaddy and Mandalay Divisions and about normal in the 14)……… States and Divisions.
               Bay inference –Weather was 15)………..cloudy in Andaman Sea, South Bay of Bengal and fair elsewhere Bay.
               Forecast valid until evening of May 4:-
                 Rain or thundershowers are likely 16)………..in Kachin, Rakhine, Mon, Karen States and Teneserim Divisions. Degree of certainly is 60%. Weather will 17)………… in the remaining States and Divisions. There will be 18)……………appreciable change of day temperature in the whole country.
               State of the sea :- Seas 19)………….slight in Burma waters.
               Outlook for subsequent two days:-  Continuation of  20)…………condition in Upper Burma Areas.  
21.          a. During                            b. When                              c. While                              d. As     
22.          a. isolate                             b. isolated                           c. isolating                          d. been isolated
23.          a. in                                      b. on                                    c. off                                    d. at
24.          a. remained                        b. remaining                       c. remain                             d. remains
25.          a. part                                  b. parting                            c. partly                               d. parted
26.          a. isolating                          b. being isolated                c. isolated                           d. to be isolated
27.          a. be fair                              b. fair                                   c. be faired                         d. faired